ระบบกฎหมาย
ระบบกฎหมายใหญ่ๆที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ทั่วโลก มีด้วยกัน 2 ระบบ คือ
1. ระบบ Commo Law
2. ระบบ Civil Law
การแบ่งระบบนั้น ได้แบ่งตามการใช้กฎหมาย และ การยึดถือตัวบทกฎหมายนั้นเอง
1. ระบบ Common Law (ระบบกฎหมายจารีตประเพณี)
เป็นระบบที่ได้พัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษตั้งแต่อดีตกาล เป็นระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ จะยึดถือตามคำพิพากษาซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งกฎหมาย ซึ่งในมุมมองของนักกฎหมายที่ใช้ระบบนี้ มีความคิดเห็นว่าการยึดตามตัวบทกฎหมายอาจจะทำให้ไม่เป็นธรรม กล่าวคือ ภาษาที่ใช้ร่างกฎหมายสามารถตีความได้หลายนัย การตัดสินคดีในเรื่องเดียวกัน อาจจะวินิจฉัยต่างกันออกไปก็ได้
ดังนั้นหากฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีอำนาจตรากฎหมายนั้นขึ้น อาจทำให้การตีความกฎหมายของศาลในระบบCommon Law ได้อย่างแคบ เพื่อรักษาอำนาจเด็ดขาดของฝ่ายตุลาการ จะสังเกตได้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติจะออกกฎหมายออกมาอย่างละเอียด เพื่อป้องกันการตีความอย่างกว้างและเพื่อให้ศาลใช้กฎหมายนั้นไปตามความมุ่งหมายของฝ่ายนิติบัญญัตินั้นเอง ในระบบCommon Law นั้น ใช้ระบบการพิจารณาคดีแบบกล่าวหา(Accusatorial System) โดยมีพื้นฐานวิธีคิดมาจากการแก้ต่างกันระหว่างผู้กระทำผิดกับผู้เสียหาย ซึ่งผู้เสียหายนั้นสามารถฟ้องคดีได้เองในบางความผิดอาญา โดยไม่ต้องอาศัยอัยการ และในคดีแพ่งก็มีอำนาจฟ้องคดีด้วยตนเอง ทั้งสามารถรวบรวมพยานหลักฐานมานำสืบความผิดของจำเลยในศาล ซึ่งศาลนั้นจะวางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งคัด ไม่ถามหรือไม่นำสืบพยานหลักฐานใดเพิ่มเติม หากขาดพยานหลักฐานใด ศาลจะถือเป็นความบกพร่องของผู้เสียเอง จะยกประโยชน์ให้แก่จำเลยไป ซึ่งในการพิจารณาคดีของระบบCommon Law จะยึดคคำพิพากษา หากศาลได้วินิจฉัยคดีแล้ว คำพิพากษาจากศาลชัั้นสูงจะเป็นแนวทางให้แก่ศาลอื่นๆในการตัดสินคดีที่มีความใกล้เคียงกันหรือในเรื่องเดียวกัน ให้ตัดสินเหมือนกัน
เพือความยุติธรรม
2. ระบบ Civil Law (ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร)
กล่าวคือ ระบบประมวลกฎหมาย ระบบกฎหมายนี้ได้พัฒามาจากโรมัน ซึ่งเป็นระบบที่เก่าแก่และใช้กันมาอย่างยาวนาน ระบบนี้จะยึดตามประมวลกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจะถูกตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งจะเขียนอย่างละเอียดในรูปของประมวลกฎหมาย ใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์และความมุ่งหมายของบทบัญญัติของกฎหมายๆนั้น โดยยึดถือตัวบทอย่างเคร่งคัดเป็นสำคัญ คำพิพาษจากศาลสูง เป็นเพียงแค่แนวทางหรือตัวอย่างในการพิจารณาคดีหรือวินิจฉัยเท่านั้น ซึ่งระบบCivil Law นั้นใช้ระบบการพิจารณาคดีแบบไต่สวน (Inquisitorial System) ซึ่งศาลสามารถไต่สวนมูลฟ้องได้ นำสืบพยานหรือซักถามด้วยตัวของศาลเองโดยอยู่บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันของคู่ความ ยึดประมวลกฎหมายเป็นเพียงใช้ในการกำหนดความผิดและโทษ ไม่ใช่คำพิพากษา อย่างไรกันตามในระบบCivil Law ไม่ยึดตามคำพิพากษา แต่เป็นเพียงแนวทางหรือตัวอย่าง ดังนั้นศาลที่พิจารณาคดีที่มีความใกล้เคียงหรือในเรื่องเดียวกัน อาจจะกลับคำพิพากษาก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตีควาามและกรณีของรูปคดีนั้นๆ
ข้อดีและข้อเสียของ Common Law และ Civil Law
ระบบ Common Law
- ข้อดี คือ เราสามารถมั่นใจได้ว่าคดีของเราสามารถเป็นไปในทางใดโดยเปรียบเทียบจากคำพิพากษาที่มีรูปคดีในเรื่องเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
- ข้อเสีย คือ ในกรณีคดีของเราไม่เคยมีคำพิพากษามาก่อน เราจะไม่สามารถหยุดผู้พิพากษาในการสร้างกฏหมายใหม่และนำว่าใช้กับกรณีของเราได้
ระบบ Civil Law
- ข้อดี คือ คดีนั้นสามารถตัดสินตามกฎหมายที่เขียนไว้ในรูปของประมวลกฎหมายต่างๆที่มีอยู่ในขณะนั้น
- ข้อเสีย คือ แม้ว่าเราจะทราบถึงตัวบทกฎหมายหรือคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับคดีของเราที่อาจจะมีแนวโน้มทำให้เราชนะคดีได้ แต่ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าศาลจะตีความแบบเดียวกับเราหรือคำพิพากษา
ระบบกฎหมายใดดีกว่ากัน?
ในความคิดของข้าพเจ้า หากให้เลือกว่าระบบใดดีกว่ากัน ข้าพเจ้าคิดว่ามันขึ้นอยู่กับสังคมในแต่ละประเทศ กล่าวคือ หากเป็นกลุ่มประะเทศที่พัฒนาแล้ว มีประชาชนที่ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม ช่องว่างระหว่างคนในสังคมมีน้อย ระบบ Common Law มีความเหมาะสมกับกลุ่มประเทศเหล่านั้นมากกว่า เพราะทำให้เกิดความเสมอภาค ไม่ล่าช้า เนื่องจากประชาชนรู้และเข้าใจกฎหมาย แต่หากในกลุ่มประเทศที่ยังด้อยพัฒนาอยู่ ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างไม่เท่าเทียม มีความรู้น้อย และช่องว่างในสังคมมีสูง
ระบบ Civil Law ย่อมเหมาะกว่า เพราะมีบทบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่บัญญัติไว้ชัดเจน และช่วยไม่ให้เกิดปัญหาการเอาเปรียบ ให้ทุกคนในสังคมได้รับความเป็นธรรม